วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการผลิตเพลาข้อเหวี่ยง

สำหรับในเนื้อหานี้ จะนำเสนอเกี่ยวกับ ขั้นตอนการผลิตเพลาข้อเหวี่ยง สำหรับเครื่องยนต์ ด้วยกรรมวิธีทางเครื่องจักรกลอัตโนมัติ เป็นรูปแบบของการผลิตเพลาข้อเหวี่ยงสำหรับเครื่องยนต์(Crankshaft) ที่่ทำการผลิตด้วยเครื่องจักรแบบอัตโนมัติล้วน(Automatic Machine) ซึ่งไม่มีการใช้แรงงานจากมนุษย์แล้วแม้แต่คนเดียว โดยจะใช้เปลี่ยนไปใช้คนทำงานก็จะเป็นเฉพาะบางส่วนเท่านั้น ได้แก่ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล และ ควบคุมการทำงานของโปรแกรมของเครื่องจักร ที่ต้องอาศัยมันสมองมนุษย์ ในการออกคำสั่ง ดูแล ควบคุมความเรียบร้อยในสายการผลิตเท่านั้น ซึ่งแต่ละขั้นตอนในสายการผลิตนั้น จะเป็นหน้าที่ของเครื่องจักร ที่ได้รับคำสั่งการจากมนุษย์เรียบร้อยแล้ว 

เพราะฉนั้น กระบวนการผลิตเพลาข้อเหวี่ยง(Crankshaft auto production) ในสายการผลิตนี้ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาแรงงานจากมนุษย์เลย ทำงานจากระบบเทคโนโลยีของเครื่องจักรกลอัตโนมัติล้วนๆจริงๆ โดยแต่ละสถานีก็จะเป็นมือเครื่องจักรกลทั้งนั้น

โดยการผลิตจะมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : เราจะนำโลหะ ไปหลอม ขึ้นรูป ลงในแม่แบบ ให้กลายเป็นเพลาข้อเหวี่ยง แล้วนำเพลาข้อเหวี่ยงที่เย็นตัว เป็นรูปร่างแล้ว

ขั้นตอนที่ 2 : ถัดมาจะมีเครื่องจักรกล ส่งมาที่สถานีกลึง คือนำมาทำการกลึงมุม เก็บมุม เก็บขอบ เก็บรายละเอียด ต่างๆ ให้ได้ขนาดชิ้นงาน ตามที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 3 : จะเป็นการเจียรอักษรตัวเลขลงบนผลิตภัณฑ์ เพลาข้อเหวี่ยง หรือที่เรียกว่า "serial number assignment"

ขั้นตอนที่ 4 : ในสถานีนี้คือการนำชิ้นงานที่ กำหนดหมายเลขผลิตภัณฑ์ เสร็จแล้ว มาเก็บพัก ไว้ในพื้นที่ชั่วคราว หรือที่เรียกว่า "automatic temporary storage" เพื่อนำไปในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 5 : เป็นสถานีของเครื่อง Crankshaft Milling Machine โดยเราจะนำชิ้นงานเข้าเครื่อง Crankshaft Milling Machine ขออธิบายในส่วนของเจ้าเครื่องนี้ คือ เครื่องนี้เป็นเครื่อง CNC ใช้ในการ กัดผิวหน้า ปาดผิวหน้า หรือการ Face milling ของชิ้นงาน โดยสามารถกัดหรือปาดได้อิสระ แกน X แกน Y แกน Z ขั้นตอนนี้คือ แขนจักรกล จะยก ชิ้นงาน ในขั้นตอนที่ 4 มาเข้าเครื่อง CNC และใช้ โปรแกรม Computer สื่อสารกับเครื่องให้ ทำการ Face milling ตามพิกัด ที่กำหนด ถ้าสังเกตุใน เนื้อหาของส่วนประกอบ เราจะพบว่า ขั้นตอนนี้เป็น การกัดผิว ชิ้นส่วน ข้อหลัก ข้อก้าน ข้อเพลาข้อเหวี่ยง ข้อเจอร์นัส โดยเราจะเรียกขั้นตอนนี้ว่า Crankshaft Line OP-30

ขั้นตอนที่ 6 : คล้ายกับขั้นตอนที่ 5 แต่จะเป็นการ Face milling คลละสัดส่วนกัน ถ้าสังเกตุใน เนื้อหาของส่วนประกอบ เราจะพบว่า ขั้นตอนนี้เป็น การกัดผิว ชิ้นส่วน น้ำหนักถ่วงนั่นเอง โดยมีชื่อขั้นตอนว่า "Crankshaft Line OP-30"

ขั้นตอนที่ 7 : จะเป็นเครื่อง CNC แต่จะเป็นการ Drilling หรือการเจาะลงที่ตัวชิ้นงาน ถ้าสังเกตุใน เนื้อหาของส่วนประกอบ เราจะพบว่า ขั้นตอนนี้เป็น การสร้าง รูน้ำมันเครื่อง รูสมดุล นั้นเอง ขั้นตอนนี้เรียกว่า Crankshaft Line OP-40

ขั้นตอนที่ 8 : จะเป็นเครื่อง CNC อีกเช่นเคย โดยจะมีการ QC ผ่านเซนเซอร์ของตัวเครื่อง ว่าพิกัด ในแต่ละจุดของชิ้นงาน ตรงตามที่กำหนดหรือไม่ ขั้นตอนนี้เรียกว่า Crankshaft Line OP-60

ขั้นตอนที่ 9 : เป็นเครื่อง CNC เป็นขั้นตอนการ Miling ในแนวแกน X ของชิ้นงานเท่านั้น โดยจะเจาะ ส่วนแกนหมุน ของเพลา ขั้นตอนนี้เรียกว่า Crankshaft Line OP-70

จบขั้นตอนการทำชิ้นส่วนเพลาข้อเหวี่ยงกันแล้ว เห็นไหมละครับว่า ต้องใช้เทคโนโลยี มากมายขนาดไหน เพื่อให้ได้ ชิ้นงานที่มีความแม่นยำสูง ลดอัตราเสี่ยงเมื่อนำไปใช้งานจริง เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น มาดูคลิปวีดีโอในโรงงานผลิตจริงๆกันเลยดีกว่าครับ





อ้างอิงข้อมูลจาก Youtube Channel : Contemporary industry







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โมเดลจำลองการเคลื่อนที่ของเพลาข้อเหวี่ยง

          โมเดลจำลองการเคลื่อนที่ของเพลาข้อเหวี่ยง