วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เพลาข้อเหวี่ยง ในเครื่องยนต์ V

     เครื่องยนต์ V-6  จำนวนมากมีสลักข้อเหวี่ยงแยกส่วน (splayed crankpins) ซึ่งหมายถึงสลักข้อเหวี่ยงของเพลาข้อเหวี่ยงแยกออกเป็น ส่วน แต่ละส่วนสำหรับก้านสูบแต่ละอันดังแสดงในรูป สลักข้อเหวี่ยงแยกส่วนดังกล่าวช่วยให้การสมดุลดีขึ้น ปลายด้านหลังของเพลาข้อเหวี่ยงจะมีล้อช่วยแรงหรือแผ่นขับยึดติดอยู่ ส่วนปลายด้านหน้าของเพลาข้อเหวี่ยงก็จะมีชิ้นส่วน ชิ้นยึดติดอยู่ ได้แก่ เฟืองหรือล้อเฟืองซึ่งขับเคลื่อนเพลาลูกเบี้ยว ตัวดูดกลืนการสั่นสะเทือน และ พูลเลย์





      
  ตัวดูดกลืนการสั่นสะเทือน  ในขณะที่เพลาข้อเหวี่ยงกำลังหมุนเนื่องจากแรงกระทำของลูกสูบ (ผ่านก้านสูบ) ต่อสลักข้อเหวี่ยงซึ่งอาจสูงเกินกว่า 18,000 นิวตัน (4,000 ปอนด์) จะทำให้สลักข้อเหวี่ยงบิดตัวนำหน้าส่วนที่เหลือของเพลาข้อเหวี่ยง และก็บิดตัวกลับเมื่อสิ้นสุดจังหวะกำลัง การบิดตัวไปมาของเพลาข้อเหวี่ยงทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเชิงบิด (torsional vibration) ซึ่งถ้าไม่ควบคุมจะทำให้เพลาข้อเหวี่ยงแตกหักได้ ดังนั้นจึงต้องติดตั้งตัวดูดกลืนการสั่นสะเทือน (vibration damper) หรือบางครั้งเรียกว่า ตัวถ่วงดุล (harmonic balancer) ที่ปลายเพลา ข้อเหวี่ยงด้านหน้า หรืออาจติดตั้งอยู่ภายในพูลเลย์เพลาข้อเหวี่ยง ตัวหน่วงการสั่นสะเทือนประกอบด้วย 2 ส่วนคือ วงแหวนความเฉื่อยและพูลเลย์ ทั้ง 2 ส่วนเชื่อมต่อกันด้วยวงแหวนยางซึ่งมีความหนาประมาณ 6 mm ดังรูป ในขณะที่เพลา ข้อเหวี่ยงหมุนด้วยความเร่งหรือความหน่วง วงแหวนความเฉื่อยมีผลฉุดลาก ซึ่งจะพยายามรักษาให้พูลเลย์และเพลาข้อเหวี่ยงหมุนด้วยอัตราเร็วคงที่ จากผลดังกล่าวจะทำให้การสั่นสะเทือนเชิงบิดถูกกำจัดให้หายไป











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โมเดลจำลองการเคลื่อนที่ของเพลาข้อเหวี่ยง

          โมเดลจำลองการเคลื่อนที่ของเพลาข้อเหวี่ยง